รู้จักแบบรู้จริงกับคลอโรฟิลลิน

        


คลอโรฟิลล์ เป็นสารประกอบสีเขียวในพืช ทำหน้าที่สังเคราะห์แสง เปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ แร่ธาตุและน้ำ ให้กลายเป็นออกซิเจนและสารอาหารสำหรับพืช มีการค้นคว้าเกี่ยวกับการทำงานหรือปฏิกิริยาของคลอโรฟิลล์ต่อคนพบว่า คลอโรฟิลล์ที่อยู่ในเซลล์พืชทั่วไปไม่ละลายน้ำ จะลายได้ในไขมันหรือแอลกอฮอล์บางรูปเท่านั้น เนื่องจากตรงกลางของโครงสร้างทางเคมีของคลอโรฟิลล์เป็นอะตอมของธาตุแมกนีเซียมที่ไม่ละลายในน้ำ ร่างกายจึงไม่สามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่แม้เราจะกินผักจำนวนมากก็ตาม

ด้วยเหตุนี้จึงมีการสกัดคลอโรฟิลล์ให้อยู่ในรูปสารที่ละลายน้ำได้ คือ โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน  ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll Derivative) โดยมีทองแดงเข้าไปแทนที่แมกนีเซียมในโครงสร้างของคลอโรฟิลล์ เพื่อทำให้สามารถละลายน้ำได้ เพื่อให้ร่างกายมนุษย์นำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพได้

จากผลงานวิจัยของศาสตราจารย์ ฮาน์ส ฟิชเชอร์ (Hanns Fisher,M.D.)ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบล (Noble's Prize) เนื่องจากเป็นผู้ค้นพบความลับของคลอโรฟิลล์ว่า สูตรโครงสร้างของคลอโรฟิลล์ มีลักษณะคล้ายคลึงกับสูตรโครงสร้างของสารประกอบ ฮีม(Heme) ที่เป็นโครงสร้างหลักของเม็ดเลือดแดง (Red Blood Cell) ของคนเราอย่างมาก และจาการวิจัยทางการแพทย์หลายการวิจัยก็ยืนยันได้ว่า ร่างกายของคนเราก็สามารถนำเอาสารคลอโลฟิลล์นี้ไป เป็นสารตั้งต้น (Precursor) ในการสร้างเม็ดเลือดแดงได้เมื่อร่างกายต้องการ โดยเฉพาะในภาวะที่ร่างกายของเราเกิดความบกพร่องในการสร้างเม็ดเลือดแดงเนื่องจากขาดสารอาหาร อย่างเช่น ในภาวะโลหิตจาง (Anemia) ฯลฯ

สรรพคุณหลักของคลอโรฟิลล์ คือ สามารถจับอนุมูลอิสระที่ลอยอยู่ในกระแสเลือดได้ไปเป็นอย่างดี จึงช่วยดีท๊อกซ์ของเสียออกจากเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ แล้วขับออกทางระบบขับถ่ายของร่างกายได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถปรับสภาพร่างกายให้มีความเป็นด่าง จึงลดการเกิดพิษในร่างกาย ช่วยลดกลิ่นตัวหรือกลิ่นเท้า ทำให้เลือดสะอาด มีความใสและนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ดีมากยิ่งขึ้น


Animation แสดงให้เห็นภาพการเกิดอนุมูลอืสระที่
ทำให้เซลล์ในร่างกายเสื่อมสภาพ



คุณประโยชน์ >>
ช่วยในกระบวนการล้างสารพิษในเลือด และขจัดของเสียสะสมในร่างกาย ทำให้สุขภาพดีขึ้น
ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง ฟอกเลือดให้สะอาด
ช่วยฟื้นฟูการทำงานของตับ
ลดปัญหาเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ลดปัญหาเส้นเลือดขอด
เสริมสร้างภูมคุ้มกัน ลดรอยคล้ำใต้ตา ใบหน้าหมองคล้ำ
ช่วยแก้ปัญหากระเพาะลำไส้อักเสบ ช่วยสมานแผลเปื่อย
ช่วยลดอาการปวดประจำเดือน ปวดศีรษะ ปวดไมเกรน
ดับกลิ่นตัว กลิ่นปาก กลิ่นเท้า
ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
รักษาแผลอักเสบ แผลเปื่อย แผลถลอก แผลโดนไฟ
เหงือกอักเสบ หรือแผลในปาก ทำให้หายเร็วขึ้น
ช่วยลดรอยคล้ำรอบดวงตา
ลดอาการภูมิแพ้ ผื่นลมพิษ แพ้อากาศ โรคหอบหืด
ปรับสมดุลกรดด่าง ในโรคเก๊าท์ รูห์มาตอยด์ เบาหวาน แผลริดสีดวง ผู้ดื่มสุรา

รายงานการวิจัยประโยชน์ของ โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน

1. ในปี 2003 มหาวิทยาลัยโอเรกอน สหรัฐอเมริกา มีรายงานการวิจัยว่า การใช้โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน ไม่พบรายงานความเป็นพิษต่อร่างกายซึ่งได้มีการศึกษาทางคลีนิคในมนุษย์ มากกว่า 50 ปี โดยโซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน ไม่ตกค้างในร่างกายสามารถขับออกทางอุจจาระและปัสสาวะ[5,14,15]

2. จากงานวิจัย Huazhong University ในประเทศจีนปี 2005 พบว่า โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน สามารถรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ Leukopenia (จำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำกว่าปกติ) ซึ่งผู้ป่วยจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อและเกิดโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น โดยจากผลการทดลองพบว่า ผู้ป่วยที่มีภาวะ Leukopenia จำนวน 60 คนได้รับ โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน ครั้งละ 40 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง นาน 1 เดือน พบว่าเม็ดเลือดขาวมีจำนวนเพิ่มขึ้น 85% ในกลุ่มอาสาสมัคร 60 คน[12]

3. ดร.แดชวู้ด (Dr.Roderick Dashwood) อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยฮาวาย ได้ทดลองให้คลอโรฟิลล์ และ โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน เป็นอาหารปลาเทร้าท์ (Trout) เพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งในตับจากการถูกพิษแอฟลาทอกซิน บี หนึ่ง (Aflatoxin B1) ผลคือ แอฟลาทอกซิน บี หนึ่ง ไม่สามารถทำลาย ดีเอนเอ (DNA) ในตับปลาเทร้าท์ได้ จึงไม่เกิดมะเร็งในตับ[16]

4. นอกจากนี้ ดร.แดชวู้ด ยังทดลองเพิ่มอีกเพื่อเป็นการพิสูจน์การล้างสารพิษด้วย คลอโรฟิลล์ และ โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน โดยการให้หนูทดลองได้รับสารเคมีกลุ่ม Heterocyclic Amines (Colon Cancer exposed to Heterocyclic Amines) ผลคือ สามารถลดอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ของหนูทดลองได้[16]

5. จอห์น กรูปแมน จากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ สหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาโดยใช้หนูทดลองรับเอาสารพิษ แอฟลาทอกซิน บี หนึ่ง (ชนิดเดียวกับที่ดร.แดชวู้ด ใช้กับปลาเทร้าท์) ผลคือ ป้องกันมะเร็งตับในหนูทดลองได้[16]

6. มีรายงานผลงานการวิจัยของ ดร.โธมัส เคนสเลอ (Dr.Thomas Kensler) และคณะ เรื่องการขัดขวางการเกิดมะเร็งตับโดยคลอโรฟิลล์และ โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน ในประชากรเมืองกิดอง (Qidong) ประเทศจีน

เดิมทีประชากรเมืองนี้มีอัตราการเกิดมะเร็งในตับสูงเนื่องมาจากสารพิษแอฟลา (Aflatoxin) ซึ่งสารพิษชนิดนี้เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งที่มักเกิดขึ้นบนถั่วชื้นๆ (ที่มักเกิดในมะขามหวานและถั่วลิสงคั่วบดในประเทศไทย) น้ำซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว ซึ่งอาหารเหล่านี้ชาวเมืองกิดองบริโภคเป็นประจำทุกวัน

ดร.เคนสเลอ ได้ทำการวิจัยโดยให้กลุ่มศึกษาทั้งหมด 180 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม (กลุ่มละ 90 คน) โดยให้ 1 กลุ่มทานคลอโรฟิลล์ และ โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน ครั้งละ 100 มก. ทุกวัน วันละ 3 ครั้ง พร้อมอาหาร เป็นเวลาทั้งสิ้น 4 เดือน ขณะที่อีกกลุ่มให้ทานยาหลอก (Placebo)

ผลการศึกษาจากการตรวจหาความเสียหายของ ดีเอนเอ (DNA) ที่เกิดจากสารพิษแอฟลา (Aflatoxin) ทางเลือดและปัสสาวะ (Aflatoxin-DNA Damage) ดร.เคนสเลอ ได้อธิบายว่า คลอโรฟิลล์ และ โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน สามารถลดระดับความเป็นพิษของสารพิษแอฟลา (Aflatoxin) ตัวก่อมะเร็งอย่างได้ผล[16]

7. โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน มีฤทธิ์ของสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีการวิจัยทั้งในห้องทดลองและสัตว์ทดลอง พบว่า โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ โดยไปทำให้อนุมูลอิสระหมดความเป็นพิษ และลดการเกิดอนุมูลอิสระหลังได้รับสารเคมีและรังสีอีกทั้งยังสามารถลด Lipidperoxidese (อนุมูลอิสระชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็ง) ในตับ และ ม้ามได้[8,17]

8. โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดแดง ด้วยการไปป้องกันการเปลี่ยนแปลงของธาตุเหล็กในเม็ดเลือดแดง (จาก Fe2+ เป็น Fe3+) ที่ทำให้เม็ดเลือดแดงสูญเสียประสิทธิภาพในการจับและนำส่งออกซิเจน ส่วนความเข้าใจที่ว่า โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน ช่วยในการผลิตเม็ดเลือดแดงนั้น...เป็นความเข้าใจที่ผิด แม้จะมีโครงสร้างทางเคมีคล้ายคลึงกับโครงสร้างของฮีมในเม็ดเลือดแดงก็ตาม[7]

9. มีรายงานการจำหน่ายเพื่อใช้ในการลดกลิ่นตัว กลิ่นอุจจาระและปัสสาวะ ตลอดจนช่วยในการสมานแผลในผู้ป่วยสูงอายุ[22]

10. ป้องกันอันตรายที่เกิดจากการใช้รังสีในการรักษามะเร็งผิวหนัง โดยการลดอนุมูลอิสระที่เกิดจากการฉายรังสี[9]ต่อต้านการกลายพันธุ์ ป้องกันความผิดปกติของ DNA ที่นำไปสู่การเป็นมะเร็ง[10]






2 ความคิดเห็น: