คลอโรฟิลล์ เป็นสารประกอบสีเขียวในพืช ทำหน้าที่สังเคราะห์แสง เปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ แร่ธาตุและน้ำ ให้กลายเป็นออกซิเจนและสารอาหารสำหรับพืช มีการค้นคว้าเกี่ยวกับการทำงานหรือปฏิกิริยาของคลอโรฟิลล์ต่อคนพบว่า คลอโรฟิลล์ที่อยู่ในเซลล์พืชทั่วไปไม่ละลายน้ำ จะลายได้ในไขมันหรือแอลกอฮอล์บางรูปเท่านั้น เนื่องจากตรงกลางของโครงสร้างทางเคมีของคลอโรฟิลล์เป็นอะตอมของธาตุแมกนีเซียมที่ไม่ละลายในน้ำ ร่างกายจึงไม่สามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่แม้เราจะกินผักจำนวนมากก็ตาม
ด้วยเหตุนี้จึงมีการสกัดคลอโรฟิลล์ให้อยู่ในรูปสารที่ละลายน้ำได้ คือ โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll Derivative) โดยมีทองแดงเข้าไปแทนที่แมกนีเซียมในโครงสร้างของคลอโรฟิลล์ เพื่อทำให้สามารถละลายน้ำได้ เพื่อให้ร่างกายมนุษย์นำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพได้
ด้วยเหตุนี้จึงมีการสกัดคลอโรฟิลล์ให้อยู่ในรูปสารที่ละลายน้ำได้ คือ โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll Derivative) โดยมีทองแดงเข้าไปแทนที่แมกนีเซียมในโครงสร้างของคลอโรฟิลล์ เพื่อทำให้สามารถละลายน้ำได้ เพื่อให้ร่างกายมนุษย์นำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพได้
จากผลงานวิจัยของศาสตราจารย์ ฮาน์ส ฟิชเชอร์ (Hanns Fisher,M.D.)ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบล (Noble's Prize) เนื่องจากเป็นผู้ค้นพบความลับของคลอโรฟิลล์ว่า สูตรโครงสร้างของคลอโรฟิลล์ มีลักษณะคล้ายคลึงกับสูตรโครงสร้างของสารประกอบ ฮีม(Heme) ที่เป็นโครงสร้างหลักของเม็ดเลือดแดง (Red Blood Cell) ของคนเราอย่างมาก และจาการวิจัยทางการแพทย์หลายการวิจัยก็ยืนยันได้ว่า ร่างกายของคนเราก็สามารถนำเอาสารคลอโลฟิลล์นี้ไป เป็นสารตั้งต้น (Precursor) ในการสร้างเม็ดเลือดแดงได้เมื่อร่างกายต้องการ โดยเฉพาะในภาวะที่ร่างกายของเราเกิดความบกพร่องในการสร้างเม็ดเลือดแดงเนื่องจากขาดสารอาหาร อย่างเช่น ในภาวะโลหิตจาง (Anemia) ฯลฯ
สรรพคุณหลักของคลอโรฟิลล์ คือ สามารถจับอนุมูลอิสระที่ลอยอยู่ในกระแสเลือดได้ไปเป็นอย่างดี จึงช่วยดีท๊อกซ์ของเสียออกจากเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ แล้วขับออกทางระบบขับถ่ายของร่างกายได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถปรับสภาพร่างกายให้มีความเป็นด่าง จึงลดการเกิดพิษในร่างกาย ช่วยลดกลิ่นตัวหรือกลิ่นเท้า ทำให้เลือดสะอาด มีความใสและนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ดีมากยิ่งขึ้น
Animation แสดงให้เห็นภาพการเกิดอนุมูลอืสระที่
ทำให้เซลล์ในร่างกายเสื่อมสภาพ
รายงานการวิจัยประโยชน์ของ โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน
1. ในปี 2003 มหาวิทยาลัยโอเรกอน สหรัฐอเมริกา มีรายงานการวิจัยว่า การใช้โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน ไม่พบรายงานความเป็นพิษต่อร่างกายซึ่งได้มีการศึกษาทางคลีนิคในมนุษย์ มากกว่า 50 ปี โดยโซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน ไม่ตกค้างในร่างกายสามารถขับออกทางอุจจาระและปัสสาวะ[5,14,15]
2. จากงานวิจัย Huazhong University ในประเทศจีนปี 2005 พบว่า โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน สามารถรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ Leukopenia (จำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำกว่าปกติ) ซึ่งผู้ป่วยจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อและเกิดโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น โดยจากผลการทดลองพบว่า ผู้ป่วยที่มีภาวะ Leukopenia จำนวน 60 คนได้รับ โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน ครั้งละ 40 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง นาน 1 เดือน พบว่าเม็ดเลือดขาวมีจำนวนเพิ่มขึ้น 85% ในกลุ่มอาสาสมัคร 60 คน[12]
3. ดร.แดชวู้ด (Dr.Roderick Dashwood) อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยฮาวาย ได้ทดลองให้คลอโรฟิลล์ และ โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน เป็นอาหารปลาเทร้าท์ (Trout) เพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งในตับจากการถูกพิษแอฟลาทอกซิน บี หนึ่ง (Aflatoxin B1) ผลคือ แอฟลาทอกซิน บี หนึ่ง ไม่สามารถทำลาย ดีเอนเอ (DNA) ในตับปลาเทร้าท์ได้ จึงไม่เกิดมะเร็งในตับ[16]
4. นอกจากนี้ ดร.แดชวู้ด ยังทดลองเพิ่มอีกเพื่อเป็นการพิสูจน์การล้างสารพิษด้วย คลอโรฟิลล์ และ โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน โดยการให้หนูทดลองได้รับสารเคมีกลุ่ม Heterocyclic Amines (Colon Cancer exposed to Heterocyclic Amines) ผลคือ สามารถลดอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ของหนูทดลองได้[16]
5. จอห์น กรูปแมน จากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ สหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาโดยใช้หนูทดลองรับเอาสารพิษ แอฟลาทอกซิน บี หนึ่ง (ชนิดเดียวกับที่ดร.แดชวู้ด ใช้กับปลาเทร้าท์) ผลคือ ป้องกันมะเร็งตับในหนูทดลองได้[16]
6. มีรายงานผลงานการวิจัยของ ดร.โธมัส เคนสเลอ (Dr.Thomas Kensler) และคณะ เรื่องการขัดขวางการเกิดมะเร็งตับโดยคลอโรฟิลล์และ โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน ในประชากรเมืองกิดอง (Qidong) ประเทศจีน
เดิมทีประชากรเมืองนี้มีอัตราการเกิดมะเร็งในตับสูงเนื่องมาจากสารพิษแอฟลา (Aflatoxin) ซึ่งสารพิษชนิดนี้เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งที่มักเกิดขึ้นบนถั่วชื้นๆ (ที่มักเกิดในมะขามหวานและถั่วลิสงคั่วบดในประเทศไทย) น้ำซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว ซึ่งอาหารเหล่านี้ชาวเมืองกิดองบริโภคเป็นประจำทุกวัน
ดร.เคนสเลอ ได้ทำการวิจัยโดยให้กลุ่มศึกษาทั้งหมด 180 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม (กลุ่มละ 90 คน) โดยให้ 1 กลุ่มทานคลอโรฟิลล์ และ โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน ครั้งละ 100 มก. ทุกวัน วันละ 3 ครั้ง พร้อมอาหาร เป็นเวลาทั้งสิ้น 4 เดือน ขณะที่อีกกลุ่มให้ทานยาหลอก (Placebo)
ผลการศึกษาจากการตรวจหาความเสียหายของ ดีเอนเอ (DNA) ที่เกิดจากสารพิษแอฟลา (Aflatoxin) ทางเลือดและปัสสาวะ (Aflatoxin-DNA Damage) ดร.เคนสเลอ ได้อธิบายว่า คลอโรฟิลล์ และ โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน สามารถลดระดับความเป็นพิษของสารพิษแอฟลา (Aflatoxin) ตัวก่อมะเร็งอย่างได้ผล[16]
7. โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน มีฤทธิ์ของสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีการวิจัยทั้งในห้องทดลองและสัตว์ทดลอง พบว่า โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ โดยไปทำให้อนุมูลอิสระหมดความเป็นพิษ และลดการเกิดอนุมูลอิสระหลังได้รับสารเคมีและรังสีอีกทั้งยังสามารถลด Lipidperoxidese (อนุมูลอิสระชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็ง) ในตับ และ ม้ามได้[8,17]
8. โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดแดง ด้วยการไปป้องกันการเปลี่ยนแปลงของธาตุเหล็กในเม็ดเลือดแดง (จาก Fe2+ เป็น Fe3+) ที่ทำให้เม็ดเลือดแดงสูญเสียประสิทธิภาพในการจับและนำส่งออกซิเจน ส่วนความเข้าใจที่ว่า โซเดียม คอปเปอร์ คลอโรฟิลล์ลิน ช่วยในการผลิตเม็ดเลือดแดงนั้น...เป็นความเข้าใจที่ผิด แม้จะมีโครงสร้างทางเคมีคล้ายคลึงกับโครงสร้างของฮีมในเม็ดเลือดแดงก็ตาม[7]
9. มีรายงานการจำหน่ายเพื่อใช้ในการลดกลิ่นตัว กลิ่นอุจจาระและปัสสาวะ ตลอดจนช่วยในการสมานแผลในผู้ป่วยสูงอายุ[22]
10. ป้องกันอันตรายที่เกิดจากการใช้รังสีในการรักษามะเร็งผิวหนัง โดยการลดอนุมูลอิสระที่เกิดจากการฉายรังสี[9]ต่อต้านการกลายพันธุ์ ป้องกันความผิดปกติของ DNA ที่นำไปสู่การเป็นมะเร็ง[10]
http://2grace.com/welcome/index.php?id=112461
ตอบลบhttp://2grace.com/welcome/index.php?id=112461
ตอบลบ