น้ำมันปลา คือ น้ำมันที่สกัดจากส่วนของเนื้อปลา หนัง หัว และหาง ของปลาทะเลน้ำลึกโดยเฉพาะปลาในเขตหนาว ในน้ำมันปลามีกรดไขมันหลายชนิด แต่ที่สำคัญและมีการนำมาใช้ ทางการแพทย์ คือ กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 และ โอเมก้า 6 ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated fatty acid = PUFA)
กรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า 3 มีกรดที่สำคัญอยู่ 2 ชนิด คือ EPA (Eicosapentaenoic = กรดไอ-โคซาเพนตาอีโนอิก) และ DHA (Docosahexaenoic acid = กรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิก) เป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย เพราะร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 ไม่ได้มาจากแหล่งอาหารทะเลเพียงอย่างเดียว ในพืชบางชนิดที่มีกรดแอลฟาไลโนเลนิค (alpha linolenic acid) เมื่อรับประทานเข้าไป ร่างกายจะสามารถเปลี่ยนกรดชนิดนี้เป็นกรด EPA และ DHA ได้ แต่การสร้างนี้เกิดขึ้นได้ช้าและจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่ขาดเอนไซม์ในขบวนการเมตาโบลิซึมนี้ พืชที่พบ คือ น้ำมันลินสีด (linseed oil) ผลวอลนัทและน้ำมันวอลนัท น้ำมันคาโนล่า น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด ผักขม (spinach) เมล็ดธัญพืชที่อบสุกในอุณหภูมิที่เหมาะสมของธัญพืชแต่ละชนิด และ ผักกาดเขียวซึ่งมีน้อยมาก
กรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า 6 เป็นกรดที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งซึ่งมีผลในการลดไขมันในเส้นเลือด พบมาก
กรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า 3 มีกรดที่สำคัญอยู่ 2 ชนิด คือ EPA (Eicosapentaenoic = กรดไอ-โคซาเพนตาอีโนอิก) และ DHA (Docosahexaenoic acid = กรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิก) เป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย เพราะร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 ไม่ได้มาจากแหล่งอาหารทะเลเพียงอย่างเดียว ในพืชบางชนิดที่มีกรดแอลฟาไลโนเลนิค (alpha linolenic acid) เมื่อรับประทานเข้าไป ร่างกายจะสามารถเปลี่ยนกรดชนิดนี้เป็นกรด EPA และ DHA ได้ แต่การสร้างนี้เกิดขึ้นได้ช้าและจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่ขาดเอนไซม์ในขบวนการเมตาโบลิซึมนี้ พืชที่พบ คือ น้ำมันลินสีด (linseed oil) ผลวอลนัทและน้ำมันวอลนัท น้ำมันคาโนล่า น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด ผักขม (spinach) เมล็ดธัญพืชที่อบสุกในอุณหภูมิที่เหมาะสมของธัญพืชแต่ละชนิด และ ผักกาดเขียวซึ่งมีน้อยมาก
กรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า 6 เป็นกรดที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งซึ่งมีผลในการลดไขมันในเส้นเลือด พบมาก
ในน้ำมันพืชหลายชนิด เช่น น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันถั่วเหลือง และในธัญพืชทั่วไป เป็นต้น
แหล่งน้ำมันปลาในธรรมชาติที่ดีที่สุด คือ ปลาทะเล, หอยนางรมแปซิฟิก และปลาหมึก ปลาทะเล เช่น แซลมอน ทูน่า ซาบะ ซาร์ดีน เฮอร์ริ่ง แองโชวี่ ไวท์ฟิช บลูฟิช ชอคฟิช ปลาเทร้า แมคเคอเรล เป็นต้น
พบว่าปลาที่จับได้ในธรรมชาติจะมีปริมาณกรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ในสัดส่วนที่เหมาะสม ส่วนปลาที่เลี้ยงในบ่อจะมีปริมาณของกรดโอเมก้า 6 มากกว่าโอเมก้า 3
ชนิด ส่วนประกอบ หน้าที่
โอเมก้า 9 Oleic acid แทบจะไม่มีบทบาทอะไรกับปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด
โอเมก้า 6 Lenoleic acid ลดระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ แต่เพิ่มระดับโคเลสเตอรอลชนิด HDL ในเลือด
เปลี่ยนเป็น Arachedonic acid ซึ่งจะถูกนำไปสร้างเป็น Prostaglandins-2 ซึ่งจะทำให้เกล็ดเลือด ไม่จับกัน และสร้างเป็น Thromboxan-A2 ซึ่งทำให้เกล็ดเลือดจับเกาะกัน ฉะนั้นถ้า 2 ตัวนี้อยู่ในสมดุล ก็จะลบล้างกันไปเอง
โอเมก้า 3 Alpha Lenolenic acid 1000 มิลลิกรัม มี EPA 180 มิลลิกรัมใช้ลดคอเลสเตอร์รอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ได้ดี และเพิ่ม HDL ในเลือดด้วย ส่วน DHA ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเซลล์ ส่วนสมอง บำรุงสมอง นอกจากนั้น EPA นำไปสร้าง Prostaglandins-3 ซึ่งทำให้เกล็ดเลือดไม่เกาะกัน และนำไปสร้าง Tromboxan-3 ซึ่งมีผลต่อการเกาะกันของเกล็ดเลือดน้อยมาก ผลรวมจึงทำให้เกล็ดเลือดไม่แข็งตัวง่าย จึงช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี
แหล่งน้ำมันปลาในธรรมชาติที่ดีที่สุด คือ ปลาทะเล, หอยนางรมแปซิฟิก และปลาหมึก ปลาทะเล เช่น แซลมอน ทูน่า ซาบะ ซาร์ดีน เฮอร์ริ่ง แองโชวี่ ไวท์ฟิช บลูฟิช ชอคฟิช ปลาเทร้า แมคเคอเรล เป็นต้น
พบว่าปลาที่จับได้ในธรรมชาติจะมีปริมาณกรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ในสัดส่วนที่เหมาะสม ส่วนปลาที่เลี้ยงในบ่อจะมีปริมาณของกรดโอเมก้า 6 มากกว่าโอเมก้า 3
ชนิด ส่วนประกอบ หน้าที่
โอเมก้า 9 Oleic acid แทบจะไม่มีบทบาทอะไรกับปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด
โอเมก้า 6 Lenoleic acid ลดระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ แต่เพิ่มระดับโคเลสเตอรอลชนิด HDL ในเลือด
เปลี่ยนเป็น Arachedonic acid ซึ่งจะถูกนำไปสร้างเป็น Prostaglandins-2 ซึ่งจะทำให้เกล็ดเลือด ไม่จับกัน และสร้างเป็น Thromboxan-A2 ซึ่งทำให้เกล็ดเลือดจับเกาะกัน ฉะนั้นถ้า 2 ตัวนี้อยู่ในสมดุล ก็จะลบล้างกันไปเอง
โอเมก้า 3 Alpha Lenolenic acid 1000 มิลลิกรัม มี EPA 180 มิลลิกรัมใช้ลดคอเลสเตอร์รอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ได้ดี และเพิ่ม HDL ในเลือดด้วย ส่วน DHA ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเซลล์ ส่วนสมอง บำรุงสมอง นอกจากนั้น EPA นำไปสร้าง Prostaglandins-3 ซึ่งทำให้เกล็ดเลือดไม่เกาะกัน และนำไปสร้าง Tromboxan-3 ซึ่งมีผลต่อการเกาะกันของเกล็ดเลือดน้อยมาก ผลรวมจึงทำให้เกล็ดเลือดไม่แข็งตัวง่าย จึงช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี
การกินน้ำมันปลาเพื่อหวังผลในการบำบัดจริงๆนั้น ให้ดูที่ปริมาณของ EPA และ DHA ที่ต้องได้รับต่อ 1 วัน ซึ่งสารออกฤทธิ์ทั้ง 2 ร่างกายสร้างเองไม่ได้และในอาหารปกติก็มีน้อยเต็มที ดังนั้นควรต้องพึ่งการกินน้ำมันปลาแบบเม็ดเป็นการถูกต้องที่สุด ในเชิงวิชาการถ้าจะกินน้ำมันปลาให้หวังผลลดไขมัน บำรุงสมองกันจริงๆต้องกินให้ได้สาร EPA วันละ 720 มิลลิกรัม และ DHA วันละ 480 มิลลิกรัม ภายใต้การมีโภชนาการที่ดีเป็นพื้นฐานสำคัญก่อนเสมอ ดังนั้นคุณหน่อยจะกินเพื่อหวังผลในการรักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันปลาก็ต้องกินให้ได้ EPA และ DHA ตามที่ผมบอกต่อวันครับ จะเลือกกินยี่ห้อไหนก็ได้เพราะเขาบ่งข้างขวดแล้วว่ามี EPA DHA เท่าไร ก็จะรู้ว่าวันหนึ่งต้องกินกี่เม็ดแล้วให้กินเฉลี่ยๆหลังอาหารทั้ง 3 มื้อให้กินมื้อละเท่าๆกันได้เลย
ที่มา : myzegrain.com
ที่มา : myzegrain.com
ผมต้องการอยากจะติดต่อกับเจ้าของ blog นี้ครับเนื้องจากอยากปรึกษา ผมเป็นนักศึกษากำลังทำรายงานสัมนาอยุ่ครับ
ตอบลบติดต่อผ่านอีเมล์ meen_074@hotmail.com